การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ DNA
การประยุกต์ใช้ในเชิงการแพทย์และเภสัชกรรม ได้แก่
1. ใช้เทคนิค PCR ตรวจหาจีโนมของไวรัส เพื่อตรวจหาว่ามีไวรัสชนิดนั้นอยู่หรือไม่ เช่น การตรวจหาเชื้อ HIV
2. การบำบัดด้วยยีน เช่น
2.1 การใส่ยีนปกติเข้าไปในเซลล์ หรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่ผิดปกติ เพื่อให้สร้างโปรตีนที่เป็นปกติได้
2.2 การใช้ไวรัสนำยีนที่ต้องการของคนเข้าสู่จีโนมของเซลล์คนโดยไวรัสนั้นไม่ทำอันตรายต่อเซลล์คน (ต้องตัดจีนที่ทำอันตรายต่อคนออกจากไวรัสเสียก่อน)
3. การสร้างผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เช่น การผลิตโปรตีนฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อรักษาโรคเบาหวาน โดนตัดต่อจีนของคนที่ผลิตอินซูลินได้ให้แก่พลาสมิดของแบคทีเรียแล้วใส่กลับเข้าไปในเซลล์แบคทีเรียต่อจากนั้นทำการโคลนแบคทีเรียให้ได้เป็นจำนวนมาก แล้วให้แบคทีเรียสร้างโปรตีนซึ่งเป็นฮอร์โมนอินซูลิน แล้วจึงแยกโปรตีนนี้ออกมาใช้กับคนป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้การสร้างฮอร์โมนโกรท (growth hormone) เพื่อรักษาโรคเตี้ยแคระก็ได้ดำเนินไปด้วยแล้ว การประยุกต์ใช้ในการรักษาโรค HIV การผลิตวัคซีนโดยใช้โปรตีนที่สร้างได้จากการตัดต่อจีนมาเป็นแอนติเจนในการกระตุ้นให้คนสร้างภูมิคุ้มกันได้
การประยุกต์ใช้ในเชิงนิติวิทยาศาสตร์
ตามปกติการจะบอกว่าใครเป็นใครจะดูได้จากวันเดือนปีเกิด ข้อมูลจากบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง รูปถ่าย หรือรอบแผลเป็น แต่สิ่งต่างเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การปลอมแปลง การเกิดอุบัติเหตุ สารเคมี เป็นต้น นอกจากนี้หลักฐานที่กล่าวมายังไม่สามารถบอกความสัมพันธ์ทางสายเลือดได้
แต่ในปัจจุบันบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่า เซลล์ของคนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน และเซลล์ของคนๆเดียวจะมี DNA เหมือนกันทุกชนิดของเซลล์ นอกจากนี้ยังรู้ว่าลูกจะได้สาร DNA หรือยีนจากพ่อแม่อย่างละครึ่ง จึงทำให้เราสามารถบอกความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ และบอกเอกลักษณ์ของแต่ละคนได้ โดยอาศัยแถบของ DNA (DNA band) ที่เกิดจากการใช้เอมไซม์ตัดเฉพาะ และเทคนิคเจลอิเล็กโทรโฟริซิส ซึ่งแถบของ DNA ของแต่ละคนจะแตกต่างกันและเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคนนี้เรียกว่า ลายพิมพ์ DNA (DNA finger print) ซึ่งลายพิมพ์ DNA ของคนสองคนที่ไม่ใช่แฝดแท้ โอกาสที่จะเหมือนกันมีน้อยมากหรือไม่มีเลย การที่เป็นเช่นนี้ทำให้สามารถพิสูจน์ตัวบุคคล พิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด พิสูจน์การฆาตกรรม พิสูจน์คนเข้าเมือง พิสูจน์การให้สัญชาติ พิสูจน์ศพ เช่น ผู้เสียชีวิตจากคลื่นยักษ์สึนามิ พิสูจน์ชิ้นเนื้อจากคดีฆาตกรรมฆ่าหั่นศพ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ในเชิงการเกษตร
1. การทำฟาร์มสัตว์เพื่อสุขภาพมนุษย์โดยการใช้เทคโนโลยี DNA ในการผลิตสัตว์ทำให้หมูมีเนื้อมากขึ้น แต่มีไขมันต่ำลง วัวให้เนื้อหรือนมได้มากขึ้น หรือผลิตสัตว์ที่เจริญเติบโตให้ผลรวดเร็ว
2. การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม (transgenic plant) เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของมนุษย์ เช่น ต้านทานแมลงได้ดีขึ้น ต้านทานโรคได้ดีขึ้น ให้ผลผลิตมากขึ้น มีคุณค่าทางอาหารเพิ่มขึ้น ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม ได้แก่
2.1 พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีความสามารถในการต้านทานแมลง ทำได้โดยการใช้ยีนที่สร้างสารพิษของแบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis) ถ่ายใส่ให้แก่พืชพวกฝ้าย ข้าวโพด มะเขือเทศ ยาสูบ มันฝรั่ง ทำให้พืชสามารถสร้างสารพิษทำลายตัวอ่อน หนอนแมลงบางชนิดได้อย่างเฉพาะเจาะจงโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นหรือคน ทำให้ผลผลิตของพืชมากขึ้น ดีขึ้น และใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงน้อยลง
2.2 พืชดัดแปลงพันธุกรรมต้านทานโรค เช่น การนำจีนที่ต่านทานโรคที่เกิดจากไวรัส ถ่ายใส่ให้กับพืช เช่น มะละกอ มันฝรั่ง ยาสูบ ทำให้พืชต้านทานโรค ซึ่งเกิดจากไวรัสมาทำลายได้
2.3 พืชดัดแปลงพันธุกรรมต้านทานสารปราบวัชพืช เช่น การนำยีนใส่ให้กับถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย ทำให้ต้านทานสารปราบศัตรูพืชได้ จึงกำจัดวัชพืชได้ง่ายขึ้น
2.4 พืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อยืดอายุของผลผลิตให้ยาวนานขึ้น โดยนำยีนที่มีผลในการยับยั้งการสร้างเอทิลีนใส่เข้าไปในผลไม้ ทำให้ผลไม้มีอายุยืนยาวขึ้น เช่น มะเขือเทศสร้างเอทิลีนน้อยลงจึงสุกช้าลงจึงเก็บได้นานขึ้นและเน่าเสียน้อยลงอีกด้วย
2.5 พืชดัดแปลงพันธุกรรมอื่นๆ เช่น ต้านทานความแห้งแล้ง ต้านทานดินเค็มดัดแปลงพืชให้แปลกและแตกต่างไปจากเดิม เพื่อให้เหมานสมกับตลาดและความต้องการของมนุษย์มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามพืชดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organism : GMOs) ถึงจะมีประโยชน์มากมายแต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งทางสังคมเป็นอย่างมากว่า อาจจะไม่ค่อยปลอดภัยต่อผู้บริโภค และอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านพันธุพืช พันธุสัตว์ ความหลากหลายทางชีวภาพ การมิวเทชั่น (การกลายพันธุ์) และอาจเป็นอัตรายต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้
การประยุกต์ใช้เพื่อสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยี DNA เป็นเทคโนโลยี DNA สร้างจุลินทรีย์ที่มีความสามารถพิเศษในการย่อยสลายสารต่างๆที่ปนเปื้อนอยู่ในธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำอากาศ ให้สลายตัวได้เร็วขึ้นในขณะเดียวกันสารที่ได้จากการสลายตัวก็ไม่เป็นพิษต่อคน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมด้วย